การเตรียมตัวและข้อมูลการเดินทางไปลาว

การเตรียมตัวและข้อมูลการเดินทางไปลาว

เตรียมตัวท่องเที่ยว
 

หาข้อมูล
การศึกษาข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวที่เรากำลังจะเดินทางไปก่อนล่วงหน้า ถือว่าทำให้การท่องเที่ยวในคราวนั้นประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่ง ควรศึกษาเส้นทาง การคมนาคม ภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ที่พัก ที่กิน ที่ช็อปปิ้ง รวมไปถึงจุดเด่นที่ไม่ควรพลาดของสถานที่นั้นๆ หรือแม้แต่ข้อควรระวังต่างๆ ถ้าเป็นไปได้ควรหาซื้อแผนที่ คู่มือท่องเที่ยวเล่มเล็กๆ และจดหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงาน ททท. สถานีตำรวจ ตำรวจท่องเที่ยว และโรงพยาบาล ติดตัวไปด้วย ยามฉุกเฉินเหล่านี้จะช่วยคุณได้

วางแผนเดินทาง
ควรวางแผนการเดินทางให้เหมาะสมกับเวลาและงบประมาณที่มี เท่านี้ก็จะทำให้พอรู้คร่าวๆได้ว่า เราจะเดินทางไปได้ไกลขนาดไหน จะต้องหยุดแวะกี่จุด แต่ละจุดใช้เวลานานเท่าใด เหมือนกับการหัดทำโปรแกรมท่องเที่ยว หรือให้ลองดูก่อนว่าคนที่จะไปด้วยเป็นใคร ช่วงอายุและความสนใจเป็นอย่างไร แล้วค่อยจัดโปรแกรมให้เหมาะสมกับเพื่อนร่วมทริปของเรา ผลออกมาน่าจะเป็นที่พอใจของทุกคนได้

ตรวจสอบสภาพอากาศ
ก่อนเดินทางท่องเที่ยว สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือฤดูกาลและสภาพดินฟ้าอากาศ เพราะนั่นหมายถึงสิ่งที่เราต้องไปเผชิญ ถ้าอยากเช่าเรือออกไปดำน้ำตามหมู่เกาะ แต่เกิดมีพายุฟ้าคะนอง ฝนตก คลื่นลมแรง น้ำขุ่น ต้องยกเลิกทริป ก็คงไม่สนุกแน่ การตรวจสอบสภาพอากาศล่วงหน้าจึงเป็นหนึ่งในการวางแผนท่องเที่ยวล่วงหน้า ที่จะช่วยให้คุณเที่ยวได้อย่างสนุกสนานและประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ ทั้งนี้สามารถสอบถามสภาพอากาศได้จากกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. +66 (0) 2399 5689 (ในวันและเวลาราชการ)

งบประมาณ
งบประมาณ หรือเรื่องเงิน เป็นสิ่งที่เราสามารถกำหนดได้เองว่า ในการท่องเที่ยวครั้งนี้จะใช้จ่ายประมาณเท่าใด เมื่อทราบยอดเงินโดยรวมแล้ว ก็สามารถเลือกที่พัก ที่กิน ที่เที่ยว และที่ช็อปปิ้ง ให้เหมาะสมกับงบประมาณนั้นได้อย่างลงตัว อย่างไรก็ตาม งบมักบานปลายสำหรับคนที่ชอบซื้อของ เพราะระหว่างทางจะมีข้าวของแปลกๆและสวยงามเอาไว้ล่อตาล่อใจเสมอ จึงต้องหมั่นเตือนตัวเองในเรื่องการคุมงบประมาณด้วย

จัดประเป๋า
เทคนิคการจัดกระเป๋าเพื่อการท่องเที่ยวง่ายนิดเดียว คือ ก่อนอื่นต้องดูจำนวนวันที่จะไป เพื่อจะได้กำหนดจำนวนเสื้อผ้าให้ครบ บางคนชอบจัดเหลือไว้ แต่บางคนชอบจัดพอดีๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น ให้ดูว่าคุณเดินทางแบบไหน ถ้ามีรถยนต์ส่วนตัวก็อาจแบกน้ำหนักเกินได้นิดหน่อย แต่ถ้าต้องหิ้วกระเป๋าขึ้นลงรถโดยสารไปเอง ก็ควรจัดของไปให้น้อยชิ้นที่สุด นอกจากนี้ ยังควรเลือกชนิดกระเป๋าให้เหมาะกับสภาพการเดินทางด้วย เช่น ถ้าจะไปเที่ยวเมืองและพักในโรงแรมหรู ก็อาจใช้กระเป๋าชนิดแข็ง (hard case) ใบสี่เหลี่ยมที่มีล้อและหูลากได้เลย แต่ถ้าจะไปลงเรือเที่ยวเกาะ ก็ควรใช้กระเป๋าชนิดนิ่ม (soft case) ซึ่งผลิตจากวัสดุกันน้ำ ป้องกันของภายในจากน้ำทะเลหรือฝนได้เป็นอย่างดี และถ้าจะไปเดินป่าล่ะก็ กระเป๋าเป้สะพายหลังดูจะเหมาะสมที่สุด

เตรียมยาไปด้วยเสมอ
อุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆระหว่างการท่องเที่ยวมักเกิดขึ้นเสมอ กระเป๋ายาใบเล็กๆซึ่งมียาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลครบจึงจำเป็น อย่าลืมยาแดง ยาดม ยาลม ยาเม็ดแก้ปวดลดไข้ ยาฆ่าเชื้อในลำไส้ (กรณีท้องเสีย) ยาธาตุน้ำขาว (ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย) ยากันแมลง ยาทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ยาทาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ พลาสเตอร์ยาปิดแผล ผ้าพันแผล ฯลฯ เหล่านี้จะช่วยคุณได้เป็นอย่างดีในยามฉุกเฉิน

ติดต่อที่พักล่วงหน้าเสมอ
สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปในรูปแบบของครอบครัว หรือไปเที่ยวเป็นหมู่คณะ ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของพวกแบเป้เที่ยว (Backpacker) ที่รักอิสระและความตื่นเต้น ก็ควรติดต่อจองที่พักล่วงหน้าไว้เสมอ เพื่อความสะดวกราบรื่น ไม่ต้องเสียเวลาตระเวนหาที่พักอีก และที่สำคัญ อย่าลืมโทรศัพท์ไปยืนยันการเข้าพักก่อนเดินทางสัก 1-2 วัน เพื่อคุณเองและทางสถานที่พักจะได้มั่นใจเต็มร้อยว่า จะไม่มีเหตุผิดพลาดเกิดขึ้น

สิ่งที่คนมักลืม
บางครั้งสิ่งของชิ้นเล็กๆที่คนมองข้าม ก็อาจช่วยแก้ปัญหาระหว่างการเดินทางได้อย่างยอดเยี่ยม สิ่งที่คนมักลืมนำติดตัวไประหว่างท่องเที่ยวก็เช่น แผนที่ ไฟฉาย มีดพับอันเล็กๆ เข็มกับด้าย ที่ตัดเล็บ หมวก รองเท้าแตะ กระดาษชำระ ชุดยาปฐมพยาบาล สายพ่วงแบตเตอร์รี่สำหรับรถ ที่ชาร์จแบตเตอร์รี่โทรศัพท์มือถือ ไขควง สมุดบันทึกและปากกา ฯลฯ อย่าลืมว่า เตรียมไปให้พร้อม ดีกว่าขาดตกบกพร่อง

รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าข้ามโขง : ข้อควรรู้ก่อนเดินทางไปลาว

วัฒนธรรมประเพณีไทยและลาวมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน แต่ต่างก็มีพัฒนาการในแบบฉบับของตัวเอง ภาษาไทย และลาว มีความคล้ายคลึงกันและสื่อสารกันเข้าใจได้ ทำให้หลายๆท่าน ที่ไม่สันทัดภาษาอังกฤษ มาเที่ยวลาวได้อย่างสบายใจ ชาวลาวทั่วไปมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี และทำให้คนไทยรู้สึกคุ้นเคยได้ไม่ยาก มีคำแนะนำบางประการที่จะช่วยให้คนไทย ผู้มาเป็นแขก รักษาน้ำใจของเจ้าภาพและสร้างมิตรใหม่ในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงแห่งนี้

เรื่องแรก คือ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยลาว คำว่า “บ้านใกล้ เรือนเคียง” เป็นคำที่เหมาะสมในทุกบริบท ส่วนคำว่า “ บ้านพี่เมืองน้อง ” แม้จะสื่อถึงความใกล้ชิด ฉันญาติได้ดีกว่า แต่พีงเข้าใจว่า หมายถึง ความเป็นพี่เป็นน้องของประชาชนชาวไทย และประชาชนชาวลาว ที่นับญาติ และนับถือกันตามอาวุโส ไม่ได้หมายถึงว่า เมืองใดเป็นพี่เมืองใดเป็นน้อง คำหนึ่งในลาว ที่แสดงถึง สานสัมพันธ์ แบบเครือญาติ คือคำว่า “ เป็นแก่ว เป็นดอง ” หมายถึง การเกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน ดังตัวอย่างในสุทรพจน์ ของ ฯพณฯ จูมมาลี ไซยะสอน ประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว ในงานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2552 ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ว่า ลาว และไทย เป็นประเทศ บ้านใกล้ เรือนเคียง ที่มีประเพณี วัฒนธรรม และภาษาพูด คล้ายคลึงกัน พร้อมทั้งมีประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวพันกัน มาเนิ่นนาน

เรื่องที่สอง ควรระมัดระวังหัวข้อสนทนา การเริ่มสนทนา ด้วยเครื่องดินฟ้า อากาศ ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ละครทีวี หรือปรับทุกข์ เรื่องราคา น้ำมัน เป็นเรื่องทั่วไป ที่หาคนร่วมวงได้ ไม่มีปัญหา แต่บางหัวข้อ ที่หมิ่นเหม่ ต่อการกระทบกระเทือน ความรู้สึก ของผู้ฟัง ก็ควรหลีกเลี่ยง อย่างยิ่ง เช่น การนำความแตกต่างทางภาษา วิถีชีวิต ประเพณี และ วัฒนธรรม มาเปรียบเทียบ หรือ ล้อเลียน ในเชิงตลกขบขัน (มีหลายกรณีที่คนไทยได้รับข้อมูลที่ผิดพราดจากสื่อบันเทิง เกี่ยวกับคำศัพท์ ภาษาลาว หรือชื่อภาพยนต์)และการแสดงความคิดเห็นแบบ ชาตินิยม ที่อาจนำไปสู่ การโตเถียง ในประเด็นละเอียดอ่อน เช่น ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง นอกจากนี้ ยังควรเลี่ยงการสนทนาเกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศไทย และไม่ควร ซักถาม เกี่ยวกับประเทศไทย หรือสถาบัน ยกเว้น เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสมัครใจของชาวลาวก่อน

เรื่องที่สาม ควรเข้าใจว่า สปป.ลาว มีมาตรฐาน การดำเนินชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีในแบบฉบับของชาวลาว การได้มาเยือน สปป.ลาว เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้ วิถีชืวิต ของท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้าน การนำมาตรฐาน การดำเนินชิวิตในประเทศไทย มาเป็นข้อเปรียบเทียบ เรียกร้อง จำทำให้เจ้าบ้านไม่สบายใจ หรืออึดอัดใจได้

เรื่องที่สี่ ควรทราบและปฎิบัติ ตามกฎหมายและวัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามของชาวลาว เช่น ควรแสดงความเคารพ บุคคลสำคัญ ของลาว ที่ชาวลาวเคารพ ยกย่อง อย่างเหมาะสม ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โดยเฉพาะเมื่อไปสถานที่ทางศาสนา และ สถานที่ราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ควรแต่งเครื่องแบบ และพกอาวุธ เข้ามาใน สปป.ลาว หากมิใช่เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ ควรทราบว่า ห้ามพักค้างคืนที่บ้านคนลาว โดยไม่แจ้งต่อนายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)ก่อน ** และการมีเพศสัมพันธ์กับคนลาว ที่ไม่ใช่คู่สมรสเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากละเมิดจะถูกกักตัว จนกว่าจะนำเงินมาจ่ายค่าปรับ ขั้นต่ำ 500 เหรียญ ดอลล่าร์สหรัฐ และถูกส่งกลับประเทศ ** จึงต้องระมัดระวัง และหลีกเลี่ยง หากมีการชักชวนให้ไปท่องเที่ยว และซื้อบริการที่ผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดี

เรื่องที่ห้า กิจกรรมที่ห้ามทำ ได้แก่ ห้ามถ่ายรูปสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เช่น ค่ายทหาร สถานีเรดาร์ หากฝ่าฝืน จะถูกดำเนินคดี โดยมีโทษ ทั้งจำ ทั้งปรับ ซึ่งเคยปรากฏ เป็นกรณีมาหลายครั้งแล้ว และห้ามนักท่องเที่ยวลงไปเดินเล่นที่หาดทรายในแม่น้ำโขง หลังเวลา 17.00 น. หากใครฝ่าฝืน จะมีโทษ ปรับ

การเดินทางสู่ สปป.ลาว


 

ทางบก(รถยนต์)
ประเทศไทย-สปป.ลาว มีจุดผ่านแดนสากลเชื่อมถึงกัน ใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย

  1. จังหวัดหนองคาย : สะพานมิตรภาพไทย-ลาว-ออสเตรเลีย แห่งที่ 1 หนองคาย-เวียงจันทน์
  2. จังหวัดนครพนม : ด่านท่าเรือ-ท่าแขก แขวงคำม่วน(สะพามิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2)
  3. จังหวัดมุกดาหาร : สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 3 ด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขต
  4. จังหวัดเชียงราย : สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ด่านเชียงของ-ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว 
  5. จังหวัดอุบลราชธานี : ด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร-วังเต่า แขวงจำปาสัก และ ด่านบ้านปากแซง อ.นาตาล-บ้านปากสะพาน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน(มีโครงการจะก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6      
  6. จังหวัดเลย : สะพานมิตรภาพน้ำเหือง ไทย-ลาว ด่านท่าลี้(อ.ท่าลี่)-เมืองแก่นท้าว ปากลาย ไชยะบุรี(แขวงไชยะบุรี)-เมืองนาน และหลวงพระบาง ระยะทาง 394 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9-10 ชั่วโมง และ  ด่านบ้านคกไผ่ อ.ปากชม-ด่านบ้านวัง เมืองหมื่น สามารถไปปากลาย-ไชยะบุรี และหลวงพระบาง หรือ เมืองหมื่น เมืองสังทอง และนครหลวงเวียงจันทน์           
  7. จังหวัดบึงกาฬ : สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 5 ด่านบึงกาฬ-เมืองปากซัน                                            
  8. จังหวัดพะเยา : ด่านบ้านฮวก(อ.ภูซาง)-ด่านปางมอน เมืองคอบ แขวงไชยะบุรี
     

บริษัท ขนส่ง จำกัด(999) เปิดเส้นทางเดินรถ ดังนี้                                                                                     

  • เส้นทางกรุงเทพ(หมอชิตใหม่ 2)-เวียงจันทน์ ใช้รถมาตรฐาน 4(ก) เดินรถผ่านหนองคาย-สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 ระยะทาง 648 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง(20.00-07.00 น.) ค่าโดยสาร 900 บาท  เดินทางทุกวันศุกร์ และวันหยุดเทศกาล มี 2 รอบ คือ รอบ 19.00 น, และ 20.00 น.  เดินทางวันธรรมดา ทุกวัน มี 1 รอบ คือ รอบ 20.00 น.-นครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 07.00 น.  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่  โทร. 0-2936-3660                                                     

นอกจากนี้ยังมี                                                                                                                                   

  • ขอนแก่น-เวียงจันทน์
  • อุดรธานี-เวียงจันทน์
  • อุดรธานี-วังเวียง
  • หนองคาย-เวียงจันทน์

 

  • เส้นทางสายที่ 14 จังหวัดเลย-หลวงพระบาง ใช้รถมาตรฐาน 1 ข เดินรถผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว น้ำเหือง-เมืองแก่นท้าว-เมืองปากลาย-เมืองไซ แขวงไชยะบุรี-เมืองนาน-เมืองเชียงเงิน และเมืองหลวงพระบาง ระยะทาง 394 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9-10 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 700 บาท
  • เส้นทางสายที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่-แขวงหลวงพระบาง ใช้รถมาตรฐาน 1 ข เดินรถผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย ระยะทาง 842 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 18 ชั่วโมง ให้บริการสัปดาห์ละ 4 วันได้แก่ จันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ เที่ยวไป 09.00 น. เที่ยวกลับ 17.00 น. ค่าโดยสาร 1,200 บาท(Promotion)
  • เส้นทางสายที่ 14 จังหวัดเลย-หลวงพระบาง ใช้รถมาตรฐาน 1 ข เดินรถผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว น้ำเหือง-เมืองปากลาย-เมืองไชยะบุรี(แขวงไชยะบุรี)-เมืองนาน-เมืองหลวงพระบาง ระยะทาง 394 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 10 ชั่วโมง ให้บริการทุกวัน เที่ยวไป 08.00 น. เที่ยวกลับ 08.00 น. ค่าโดยสาร 700 บาท
  • เส้นทางสายที่ 10 กรุงเทพมหานคร-ปากเซ(ด่านช่องเม็ก-วังเตา) ใช้รถมาตรฐาน 1 ข เดินรถผ่านด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ระยะทาง 790 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 11.30 ชั่วโมง ให้บริการทุกวัน เที่ยวไป 20.30 น., 21.00 น. เที่ยวกลับ 16.00 น., 17.00 น. ค่าโดยสาร 900 บาท

ทางน้ำ(ล่องเรือแม่น้ำโขง)      

  • ล่องเรือแม่น้ำโขง Slow Boat จากด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ด่านเชียงของ-ด่านห้วยทราย(แขวงบ่อแก้ว) ลงเรือท่าเรือห้วยทราย จุดหมายปลายทางหลวงพระบาง ใช้เวลาล่อง 2 วัน 1 คืน เรือออก 11.00 น. ประมาณ 17.00 น. ถึงเมืองปากแบ่งค่ำ แวะพักค้างคืนที่เมืองปากแบ่ง 1 คืน และจากด่านห้วยโก่น-เมืองเงิน สามารถมาลงเรือที่ปากแบ่งได้ รุ่งเช้า(09.00 น.) เดินทางต่อ 17.00 น. ถึงเมืองหลวงพระบาง หรือจะเหมาเรือล่องน้ำแม่น้ำโขงจากเมืองห้วยทรายไปหลวงพระบาง ก็ได้ ใช้เวลาล่อง 1 วัน(ประมาณ 10 ชั่วโมง) ก็ถึงเมืองหลวงพระบาง
  • แม่น้ำเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญที่สุดของลาว คือ ใช้ติดต่อถึงกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะแม่น้ำโขง มีเรือเร็วซึ่งลาวเรียกว่า เฮือไว(Speed Boat) บริการจอดรับ-ส่ง ผู้โดยสารที่ท่าเรือตามหัวเมืองสำคัญ เริ่มตั้งแต่ห้วยทราย ลงมาหลวงพระบาง  เป็นเรือหางยาวนั่งได้ 6 ท่าน(มีเสื้อชูชีพบริการ) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6-8 ชั่วโมง นอกจากนี้มีบริการเรือข้ามฟากบริการในบางช่วง เรือเช่าเหมาลำ และเรือบริการนำชมแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เข่น วัด ถ้ำ และเรือสำราญล่องแม่น้ำโขงซึ่งเป็นของบริษัทต่างชาติ
     

ทางรถไฟ

  • จากสถานีรถไฟกรุงเทพอภิวัฒน์(บางซื่อ)-สถานีรถไฟหนองคาย รถด่วนขบวนพิเศษ “อิสานมรรคา” (ขบวนที่ 25 และ 26) และเชื่อมต่อไปนครหลวงเวียงจันทน์ได้ จากสถานีหนองคาย-สู่สถานีท่านาแล้ง(นครหลวงเวียงจันทน์
  • สถานีรถไฟกรุงเทพอภิวัฒน์(บางซื่อ)-สถานีรถไฟเวียงจันทน์(คำสะหวาด) ขบวนรถเร็วที่ 133 และ 134
  • สถานรถไฟอุดรธานี-เวียงจันทน์(คำสะหวาด) ขบวนรถธรรมดาที่ 147 และ 148

ทางอากาศ(เครื่องบิน)

  • สายการบินลาวแอร์ไลน์(QV) สนามบินสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่  บินตรงสู่สนามบินนานาชาติวัดไต(นครเวียงจันทน์) และสนามบินหลวงพระบาง
  • สายการบินไทยแอร์เอเชีย(FD) บินตรงสู่เมืองหลวงพระบาง และนครหลวงเวียงจันทน์
  • สายการบินบางกอกแอร์เวย์(PG) บินตรงสู่เมืองหลวงพระบาง
  • สายการบินไทยแอร์เวย์(TG) บินตรงสู่นครหลวงเวียงจันทน์


จุดผ่านแดน ไทย - ลาว
จากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีอาณาเขตติดต่อกับ สปป.ลาว และกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สปป.ลาว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทยทางด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม มาเป็นระยะเวลายาวนาน ตลอดจนมีพรมแดนติดต่อกันเป็นระยะทางยาวประมาณ 1,840 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับ 11 จังหวัดชายแดนไทย คือ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จังหวัดในภาคเหนือ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ตลอดแนวชายแดนไทย-สปป.ลาว

ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีช่องทางการค้าชายแดน 33 แห่ง จุดผ่านแดนถาวร 14 แห่ง จุดผ่อนปรน 20 แห่ง ดังนี้


จุดผ่านแดนถาวร 15 แห่ง คือ จ.หนองคาย อุบลราชธานี นครพนม มุกดาหาร เชียงราย เลย น่าน พะเยา และจัดหวัดอุตรดิตถ์

  1. ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 อ.เมือง จ.หนองคาย - เมืองหาดทรายฟอง กำแพงนครเวียงจันทน์
  2. ด่านท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย - ด่านท่าเดื่อ
  3. ด่านบึงกาฬ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย - เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ(สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5)
  4. ด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี - บ้านวังเต่า เมืองปาเซ แขวงจำปาสัก
  5. ด่านบ้านปากแซง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี - เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน
  6. ด่านอำเภอเมือง จ.นครพนม - เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน(สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3)
  7. ด่านอำเภอเมือง จ.มุกดาหาร - เมืองคันทะบุรี แขวงสะหวันนะเขต(สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2)
  8. ด่านอำเภอเชียงของ จ.เชียงราย - เมืองห้วยทราย แขวงท่าบ่อแก้ว(สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4)
  9. ด่านอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย - เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว
  10. ด่านปากห้วย อำเภอท่าลี่ จ.เลย - เมืองแก่นแก้ว แขวงไชยะบุรี
  11. ด่านบ้านเชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย - เมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์
  12. ด่านบ้านคกไผ่ อ.ปากชม จ.เลย - บ้านวัง เมืองหมื่น, เมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์
  13. ด่านห้วยโก๋น อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน - เมืองเงิน แขวงไชยะบุรี
  14. ด่านภูดู่ อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ)-ด่านสากลภูดู่ เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี
  15. ด่านบ้านฮวก-ปางมอน อ.ภูซาง จ.พะเยา เมืองคอบ แขวงไชยะบุรี


จุดผ่อนปรน มี 20 แห่ง คือ
จังหวัด เชียงราย
1) บ้านแจมป๊อง ต.หล่ายงาว กิ่ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย - บ้านด่าน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว
2) บ้านร่มโพธิ์ทอง อ.เทิง จ.เชียงราย
3) บ้านสวนดอก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
4) บ้านสบรวก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย (เป็นจุดผ่อนปรนไทย-พม่า ด้วย)

จังหวัดน่าน
6) บ้านห้วยสะเตง ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน - บ้านป่าหว้าน เมืองเชียงฮ่อน แขวงไชยะบุรี
7) บ้านใหม่ชายแดน ต.ชนแดน กิ่ง อ.สองแคว จ.น่าน - บ้านเตสอง เมืองเชียงฮ่อน แขวงไชยะบุรี
8) บ้านห้วยต่าว ต.บ้านโคก อ.บ้านโคก - บ้านขอนแก่น เมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี
9) บ้านภูดู่ ต.ม่วงเจ็ดต้น อ.บ้านโคก - บ้านผาแก้ง (บ้านบวมลาว) เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี

จังหวัดเลย
10) บ้านเมืองแพร่ ต.นาแห้ว - บ้านเมืองแพร่ เมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี
11) บ้านนาข่า ต.ปากหมัน อ.ด่านซ้าย - บ้านนาข่า เมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี
12) บ้านนากระเซ็ง ต.อาอี อ.ท่าลี - บ้านเมืองหม้อ เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี

จังหวัดนครพนม
13) ด่านศุลกากร อ.ท่าอุเทน - บ้านหินบูน เมืองหินบูน แขวงคำม่วน
14) บ้านดอนแพง ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง - บ้านบุ่งกวาง เมืองปากกระดิ่ง แขวงบอลิไซ
15) บ้านธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม - บ้านปากเซบั้งไฟ เมืองหนองบก แขวงคำม่วน

จังหวัดอุบลราชธานี
16) หน้าที่ว่าการ อ.เขมราฐ - บ้านปากซัน เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต
17) บ้านสองคอน ต.สองคอน อ.โพธิ์ไทร-บ้านหนองแสง บ้านกะลา บ้านดอนเฮือ เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน
18) บ้าน่านเก่า ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม - บ้านสีสัมพัน เมืองชะนะสมบูน แขวงจำปาสัก
19) บ้านหนองแสง (บริเวณช่องตาอุ) ต.โพนงาม อ.บุณฑริก - บ้านเหียง เมืองสุขุมา แขวงจำปาสัก

จังหวัดอำนาจเจริญ
20) บ้านยักษ์คุ(หน้าที่ว่าการ อ.ชานุมาน) ต.ชานุมาน อ.ชานุมาน-บ้านเรียงหิน เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต

การเดินทางผ่านจุดผ่านแดน ไทย-ลาว สามารถเดินทางได้ 2 วิธี คือ
-ใช้ หนังสือเดินทาง (Passport) สามารถใช้หนังสือเดินทางไทย ที่ยังมีอายุใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ตรวจลงตราได้ที่ด่านสากลทุกแห่งในลาว โดยสามารถเดินทางท่องเที่ยวอยู่ในประเทศลาวได้ 30 วัน โดยไม่ต้องเสียค่าvisa ยกเว้นชาวต่างชาติ
-การใช้บัตรผ่านแดน (border pass) ค่าเหยียบแผ่นดิน หากไม่มีหนังสือเดินทาง สามารถทำบัตรอนุญาตผ่านแดนชั่วคราวเข้าไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้ โดยทำที่ ศาลากลางจังหวัดที่มีด่านสากลตั้งอยู่ ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหารและอุบลราชธานีหรือร้านที่รับทำ และ บริษัท นำเที่ยว ต่าง ๆ แต่ไม่สามารถเดินทางไปยังแขวงอื่นๆ นอกเหนือจากแขวงซึ่งเป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยวใช้บัตรผ่านแดนเข้า ลาว โดยสามารถเข้าออกได้ 3 วัน 2 คืน และต้องออกจาก ลาว จุดเดียวกับที่เข้าเท่านั้น

เอกสารผ่านแดนเข้าประเทศลาวมี 3 ประเภท คือ
 

 
1) หนังสือเดินทาง (Passport) ใช้สำหรับประชาชนไทย ลาว และประชาชนประเทศที่สาม ระยะเวลาพำนักไม่เกิน 1 เดือน สามารถเดินทางไปได้ทั่วประเทศ และพำนักอยู่นอกพื้นที่ชายแดนที่กำหนดไว้ในความตกลงได้
2) หนังสือผ่านแดน (Border Pass) ใช้เฉพาะประชาชนไทยและลาว ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ชายแดนที่ระบุไว้ในความตกลงเท่านั้นมีอายุ 1 ปี ระยะเวลาพำนักไม่เกิน 3วัน 2 คืน โดยจะต้องอยู่ในพื้นที่ชายแดนที่กำหนดไว้ในความตกลงเท่านั้น และต้องเดินทางกลับออก ณ ช่องทางที่ผ่านเข้ามา
3) หนังสือผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass) ใช้สำหรับประชาชนไทยและลาว ที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกพื้นที่ชายแดนที่ระบุไว้ในความตกลงใช้ได้ครั้งเดียว ระยะเวลาพำนักไม่เกิน 3 วัน 2 คืน ใช้หลักปฏิบัติเหมือน (ข้อ 2) หมายเหตุ ด่านตรวจคนเข้าเมือง เวลาเปิดปกติ เวลา 08.00-18.00 น.


เอกสารในการทำบัตรผ่านแดนชั่วคราว ได้แก่

  1. รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
  2. สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับเด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชนให้ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน
  4. เงินค่าธรรมเนียม 30 บาท โดยจะเสียค่าเหยียบแผ่นดินที่ฝั่งประเทศลาว 50 บาท


การทำวีซ่าเข้าประเทศลาว


1. กรอกแบบ ฟอร์ม คำขอ Visa
• ใบสมัครขอวีซ่า ขอได้ที่สถานทูตลาว หรือ Download จาก http://www.bkklaoembassy.coml แล้วติดรูป มาด้วย 1 รูปพร้อม แนบ Passport
• ติดรูปถ่าย 1 ใบ

2. นำใบสมัครขอวีซ่า ที่ติดรูปถ่าย พร้อม พาสปอร์ต นำไปยื่นที่สถานทูตลาว
• ทำแบบธรรมดา ค่าธรรมเนียม บาท ต้องยื่นภายในช่วงเช้า หลังยื่นจะได้ใบนัดวันรับ (โดยจะได้ภายใน 2 - 3 วัน ในช่วงบ่าย)
• ทำแบบด่วน ค่าธรรมเนียม บาท จะได้รับภายใน 2-3 ชม. ยื่นใบสมัครได้ทั้ง ช่วงเช้าและช่วงบ่าย
ชาวต่างชาตินั้นสามารถมาขอวีซ่าได้ที่ด่าน ตม.ฝั่งลาวเลย (Visa on arrival) ค่าธรรมเนียม 30-40 Usd. (ขึ้นอยู่กับสัญชาติ) สามารถอยู่ในประเทศลาวได้ 30 วัน หากต้องการอยู่นานกว่านั้นสามารถขยายเวลาเพิ่มได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมส่วนที่เกิน (ดูรายละเอียดในภาคถาษาอังกฤษ)
รถโดยสารระหว่างประเทศไทย-ลาว (Thai – Lao International Bus)

เปิดบริการรถโดยสารระหว่างประเทศ ไทย – ลาว
เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ และเพื่อสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน ซึ่งมีทั้งหมด 6 เส้นทาง ( โคราช / ขอนแก่น / อุดาฯ / หนองคาย -เวียงจันทน์ ,อุดรธานี ,อุบลราชธานี - ปากเซ และมุกดาหาร-สะหวันนะเขต) บริการด้วยรถปรับอากาศมาตรฐาน 45 ที่นั่ง มีต้นทางและปลายทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารประจำจังหวัด 2 และสถานีขนส่งผู้โดยสารตลาดเช้านครหลวงเวียงจันทร์ โดยไม่มีจุดจอดระหว่างทาง ผู้โดยสารจะต้องมีหนังสือเดินทาง หรือหนังสือผ่านแดนก่อนซื้อบัตรโดยโดยสาร

ตารางเวลาเดินรถโดยสารระหว่างประเทศไทย - สปป.ลาว
เส้นทาง เวลาต้นทาง เวลาเดินทาง ระยะทาง อัตราค่าโดยสาร

เวียงจันทน์-นครราชสีมา 09.00 AM 7 HRS
นครราชสีมา-เวียงจันทน์ 07.30 AM 7 HRS

เวียงจันทน์-ขอนแก่น 08.15 AM/14.45 PM 4 HRS 194 KM
ขอนแก่น-เวียงจันทน์ 07.45 AM / 14.15 PM 4 HRS 194 KM

อุดรธานี-เวียงจันทน์ 07.00AM/09.30AM/12.40PM/14.30PM 15.00PM/18.00PM 1.30 HRS
เวียงจันทน์-อุดรธานี 08.00AM/10.30AM/11.30AM/14.00PM/ 16.00PM/18.00PM 1.30 HRS

หนองคาย-เวียงจันทน์ 07.30AM/10.30AM/15.00PM/18.00PM 40 MIN
เวียงจันทน์-หนองคาย 07.30AM/09.30AM/12.40.00PM/14.30PM/ 15.30pm/18.00pm 40 MIN

มุกดาหาร-สะหวันเขต 08.15AM/09.00AM/09.45AM/10.30AM/11.15AM/ 12.30PM/13.30PM/14.30PM/15.30PM/17.30PM
สะหวันเขต-มุกดาหาร

อุบลราชธานี-ปากเซ 07.00AM/09.30AM/14.30AM/15.30AM 3 HRS 130 KM
ปากเซ-อุบลราชธานี 07.00AM/08.30AM/14.30AM/15.30AM 3 HRS 130 KM

กองประชาสัมพันธ์ บริษัท ขนส่ง 02-9362996 ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

สถานีขนส่งผู้โดยสารปรับอากาศ จังหวัด ขอนแก่น แห่งที่ 3 Tel 043-471 563
สถานีขนส่งผู้โดยสารปรับอากาศ จังหวัด นครราชสีมา Tel 044-242 777
สถานีขนส่งผู้โดยสารปรับอากาศ จังหวัด มุกดาหาร Tel 042-611 207                                                   

สถานีขนส่งผู้โดยสารปรับอากาศ จังหวัด นครพนม Tel 042-513 444
สถานีขนส่งผู้โดยสารปรับอากาศ จังหวัด อุบลราชธานี Tel 045-316 085
สถานีขนส่งผู้โดยสารปรับอากาศ จังหวัด หนองคาย Tel 042-412 679
สถานีขนส่งผู้โดยสารปรับอากาศ จังหวัด อุดรธานี แห่งที่ 1 Tel 042-221 444, แห่งที่ 2  042-295 414

กรณี จะนำรถยนต์ส่วนตัวเข้า สปป.ลาว
สามารถทำหนังสือขออนุญาตได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดของทุกจังหวัดที่มีด่านสากลข้ามไปประเทศลาว


* เส้นทางโดยรถจาก อ.เชียงกลาง จังหวัดน่าน ไปยัง หลวงพระบาง

  1. เดินทางจากด่าน ตม.ห้วยโก๋น(อ.เฉลิมพระเกียรติ) จ.น่าน-ตม.ด่านน้ำเงิน เมืองเงิน แขวงไชยะบุรี-เมืองหงสา-บ้านนาปุง-เมืองจอมเพ็ด นำรถลงแพขนานยนต์ข้ามน้ำโขง สู่เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-3.30 ชั่วโมง
  2. เดินทางจาก อ.เชียงกลาง ไปยัง ด่านห้วยโก๋น ใช้เวลา ชั่วโมงเศษๆ เมื่อข้ามด่านที่ห้วยโก๋นมา คุณจะยืนบนแผ่นดินเมืองน้ำเงินของลาว แล้วเดินทางต่อ ตามเส้นทาง ห้วยโก๋น(4กม)-น้ำเงิน(34กม)-เมืองหงสา(95กม)-  ไซยบุรี(40กม)-ท่าเดื่อ(60กม)-หลวงพระบาง ถนนสภาพดี ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง จะเสียเวลามากตรงช่วงจากเมืองหงสา ไปยังเมืองไซยะบุรี เป็นทางน้อยๆ ตัดข้ามดอยสิบกว่าลูก โอกาสที่จะได้ลงไปช่วยเข็นรถนั้นมีมาก หากอยากจะใช้ทางนี้จริงๆ ขอแนะนําให้เอาของกิน และ นํ้าไปด้วย

เอกสารที่ต้องใช้ข้ามพรมแดน

  1. หนังสืออนุญาตรถยนต์ระหว่างประเทศ (สมุดสีม่วง) และสติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงประเทศ (IT PLATE) ขอได้ที่สำนัก มาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด เสียค่าธรรมเนียม 55 บาท เมื่อเสร็จแล้วจะได้สมุดเล่มม่วงสำหรับ บันทึกการเข้า - ออกของรถยนต์ระหว่างไทยลาว และสติ๊กเกอร์ตัวอักษร (T PLATE) 2 แผ่น สำหรับติดหน้าและหลังรถ
  2. ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ระหว่างประเทศ (ใบขับขี่สากล) ขอได้ที่กรมการขนส่งทางบกกรุงเทพ หรือ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ยัง ไม่หมดอายุ (แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว)ขอได้ที่เดียวกับหัวข้อที่ 1
  3. กรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่3 ภายในประเทศ สสป. ลาว ซื้อได้ที่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองของ สปป. ลาว การเดินทางเข้า สปป.ลาว ต้องไปที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง นำรถไปตรวจที่เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่จะประทับตราวันที่นำรถ ออกนอกประเทศในสมุดเล่มสีม่วง พร้อมประทับตราในใบตรวจรถยนต์เข้าออกจากราชอาณาจักร (เป็นกระดาษขนาด A4) ต้องเก็บใบนี้ให้ดีเพราะถ้าหายจะนำรถยนต์กลับเข้าไทยไม่ได้ เมื่อข้ามไปฝั่งลาวแล้ว ต้องไปซื้อกรมธรรม์ประกันภัยบุคลที่ 3 ที่ สำนักงานตัวแทนประกันภัย บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง โดยต้องแจ้งระยะเวลาที่จะซื้อ (อย่างต่ำ 5 วัน สามารถต่ออายุวันต่อวันได้ที่ที่ทำการขนส่งของเมือง แต่ต้องก่อนหมดอายุกรมธรรม์) และแจ้งรายชื่อแขวงที่เราจะเดินทางไป (ถ้าไปหลายแขวงต้องแจ้งให้ครบ) เมื่อเอกสารทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้เอกสาร 2 ชุด คือ ใบอนุญาตนำรถเข้าประเทศลาว และ เอกสารการทำประกันบุคคลที่ 3 พร้อมสติ๊กเกอร์สี่เหลี่ยมเล็กๆสีเขียวแจ้งอายุของกรมธรรม์ สำหรับติดหน้ารถ 1 ใบ  จากนั้นต้องไปเสียภาษีการ นำรถยนต์เข้า สปป. ลาว ที่แผนกภาษีของศุลกากร จะได้เอกสาร(สีเขียว) พร้อมสติ๊กเกอร์ติดหน้ารถ 1 ใบ (การขับรถในลาว ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง เพราะ รถยนต์ในลาวขับชิดขวา และเส้นทาง สู่ หลวงพระบาง ยังเป็นถนนที่ คดเคี้ยวไปตามยอดเขาสูง จึงไม่ควรใช้ความเร็วมากอย่างในเมืองไทย)

แหล่งชอปปิ้ง

ตลาดเช้า เปิดขายตั้งแต่ 07.00 น. – 16.00 น. ที่ชื่อตลาดเช้าเพราะเมื่อก่อนเปิดขายเฉพาะช่วงเช้าเท่านั้น มีสินค้าให้เลือกซื้อมากมายหลากหลายชนิด ทั้งสินค้าพื้นเมือง และจากต่างประเทศ อาทิ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าซิ่น เครื่องเงิน ไม้แกะสลัก เครื่องจักสาน งานฝีมือต่าง ๆ

ตลาดจีน หรือ ตลาดแลง ตลาดหนองด้วงก็นิยมเรียกกัน เป็นจำหน่ายสินค้าจากประเทศจีน อาทิ กระเป๋าแบนด์เนม ของดียี่ห้อดัง เครื่องใช้ไฟฟ้า ของที่ระลึก เสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมไปทั้งอาหารและเครื่องเทศที่นำเข้าจาก ประเทศจีนโดยตรง

ตลาดขัวดิน เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าของสดที่ใหญ่ที่สุดในนครหลวงเวียงจันทน์ เช่นเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ กุ้งหอย ปู ปลา และสินค้าอื่น ๆ ที่ชาวบ้านสามารถสรรหาได้ มาวางจำหน่าย


ศุลกากร

นักท่องเที่ยวนำเงินกีบลาวและสกุลอื่นๆ เข้า ลาวได้โดยไม่จำกัดจำนวน สุราไม่เกิน 1 ลิตร บุหรี่ 500 มวน
สิ่งของที่ต้องแสดง ได้แก่ กล้องถ่ายรูป เครื่องมือสื่อสารต่างๆ สิ่งของต้องห้ามนำเข้าประเทศได้แก่ ยาเสพติด อาวุธ และ สื่อลามกอนาจารทั้งหลาย สิ่งของต้องห้ามนำออกนอกประเทศ ได้แก่ วัตถุโบราณ และ พระพุทธรูป ยกเว้นที่ได้รับอนุญาตและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าไม่ได้เป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ

Do & Don't in LAOS
 

 

  • การทักทายกันคนลาวใช้คำว่า "สบายดี" ซึ่งเป็นคำทักทายที่ใช้เป็นประจำ การจูบ และกอดกันในที่สาธารณะ หรือการแสดงความรักในที่สาธารณะเป็นสิ่งที่ไม่สุภาพสำหรับคนลาว
  • พระพุทธรูปเป็นสิ่งสักการะบูชา ควรแสดงความเคารพด้วยการแต่งกายที่สุภาพ ในการเข้าเที่ยวชมและถ่ายภาพ
  • ในประเทศลาวมี่สถานที่สิ่งสักการะมากมาย การเข้าไปเที่ยวชมไม่ควรแตะต้อง หรือเข้าชมในบริเวณที่หวงห้ามก่อนได้รับอนุญาต
  • พระสงฆ์และสามเณร เป็นบุคคลที่ชาวลาวให้ความเคารพ เพศหญิงไม่ควรแตะต้อง หรือสัมผัสถูกพระสงฆ์และสามเณร
  • ก่อนจะถ่ายรูปใคร หรือบุคคลใด ต้องขออนุญาต และได้รับอนุญาตเสียก่อน
  • การตบหัว หรือจับหัว เป็นมารยาทที่ไม่สุภาพที่สุด
  • ไม่เลือกซื้อวัตถุโบราณ และสิ่งของที่เป็นมรดกของคนลาว ควรเลือกซื้อเครื่องหัตถกรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ ศิลปะหัตถกรรมของลาวให้ยั่งยืนสืบไป
  • การซื้อ เสพ และมียาเสพติดไว้ในครอบครองมีความผิดตามกฎหมาย และมีโทษหนัก
  • ไม่ซื้อ ไม่กินสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศลาวในการอนุรักษ์สัตว์ป่า
  • คนลาวถือว่าศีรษะเป็นสิ่งสูงสุด เท้าเป็นสิ่งต่ำสุด การใช้เท้าชี้หรือเตะสิ่งของเป็นการแสดงท่าทีที่ไม่สุภาพ
  • ควรถอดรองเท้าทุกครั้งก่อนเข้าบ้านชาวลาว หรือบริเวณที่กำหนดให้ถอดรองเท้าก่อนเข้า เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
Share on social networks
ติดต่อสำนักงาน
หจก.โฟโต้เวิลด์ทัวร์ แอนด์ทรานสปอร์ต
เลขที่ใบอนุญาต 11/01064

122 ถนนพิบูลสงคราม ซอย 6 ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 แผนที่

จันทร์-ศุกร์ 9:00-18:00
ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
ติดตามเรา
ติดต่อ
chat ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
search ค้นหาโปรแกรมทัวร์
home หน้าหลัก
approval ขอใบเสนอราคา