ประเทศพม่า

ประเทศพม่า

ประเทศพม่า

ประเทศพม่า (หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (Republic of the Union of Myanmar) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar

ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า หรือ เมียนมา ส่วนในประเทศไทยจะสะกดว่า เมียนมาร์

ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย

มอญ
มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าเมื่อราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของเมียนมาร์

พยู
ชาวปยูหรือพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศเมียนมาร์ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) อาณาจักรศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนเมียนมาร์เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน

อาณาจักรพุกาม
เขตแดนในประเทศพม่าชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อย ๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Pagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา (พ.ศ. 1624–1655) และพระเจ้าอลองสิธู (พ.ศ. 1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมรและพุกาม

อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านรสีหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยุนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงครามที่งาสองกยัน (Ngasaunggyan) ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านรสีหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832

อังวะและหงสาวดีหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070

อังวะและหงสาวดีหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070

ราชวงศ์อลองพญา
ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว พระเจ้าอลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ. 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2303 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตระหว่างการสู้รบ พระเจ้าเซงพะยูเชง (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319) พระราชโอรส ได้โปรดให้ส่งทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2309 ซึ่งประสบความสำเร็จในปีถัดมา

ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309–2312) ทำให้ความพยายามในการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ต้องยุติลง ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ. 2324–2362) พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ. 2327 และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw, ครองราชย์ พ.ศ. 2362–2380) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) นำทัพเข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น

สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า

พระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยาลัต
ภาพเจดีย์ชเวดากอง วาดโดยช่างภาพชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2368สืบเนื่องจากการพยายามขยายอำนาจของอังกฤษ กองทัพอังกฤษได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2367 สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่งนี้ (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง

หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้

รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้

ภูมิศาสตร์ที่ตั้ง
ประเทศพม่าตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ และมีหาดที่สวยงามเก่าแก่บริสุทธิ์อยู่หลายแห่ง พม่ามีชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับธิเบตและจีน ส่วนทางตะวันออกติดกับลาว และทางตอนใต้ติดกับไทย รูปพรรณสัณฐานเหมือนกับว่าวที่มีหางยาวล้อมรอบเกือกม้าขนาดใหญ่คือแนวเทือกเขามหึมา และภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ มียอดเขาสูงอยู่มากมายตามแนวเทือกเขาของพม่า และมีหลายยอดที่สูงเกินกว่า 10,000 ฟุต

ตามแนวชายแดนหิมาลัยทางเหนือของพม่าที่ติดกับธิเบตเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ฮากากาโบ ราซี” 19,314 ฟุต ต่ำลงมาจากแนวเขาเหล่านี้เป็นที่ราบกว้างใหญ่ภายในประเทศพม่า รวมทั้งเขตแห้งแล้งกินอาณาเขตกว้างตอนกลางของพม่า และยังมีที่ราบลุ่มบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวลงไปทางตอนใต้ เป็นนาข้าวกว้างใหญ่ราวกับไม่มีที่สิ้นสุด

ลักษณะภูมิประเทศภาคเหนือ – เทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย
ภาคตะวันตก – เทือกเขาอาระกันโยมากั้นเป็นแนวยาว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – เป็นที่ราบสูงชัน
ภาคใต้ – มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า
ภาคกลาง – เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตการปกครองทั้ง 14 แห่งของพม่าและเมืองหลวงประเทศพม่าแบ่งเป็น 7 เขต (divisions) และ 7 รัฐ (states) ได้แก่
เขต 
ชื่อ เมืองเอก พื้นที่ (km2) ประชากร
1. เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) ทวาย 43,328 1,327,400
2. เขตพะโค (Bago) พะโค 39,404 5,014,000
3. เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) มัณฑะเลย์ 37,023 6,442,000
4. เขตมาเกว (Magway) มาเกว 44,819 4,464,000
5. เขตย่างกุ้ง (Yangon) ย่างกุ้ง 10,170 5,420,000 (2542)
6. เขตสะกาย (Sagaing) สะกาย 93,527 5,300,000 (2539)
7. เขตอิรวดี (Ayeyarwady) พะสิม 35,138 6,663,000

เศรษฐกิจ
เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า เป็นประเทศกำลังพัฒนาขั้นต่ำ

ประชากร
จำนวนประชากรประมาณ 55,770,232 ล้านคน (พ.ศ.2567) ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 61 คน/ตารางกิโลเมตร พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%

 


 

 

Tags ที่เกี่ยวข้อง
Share on social networks
ติดต่อสำนักงาน
หจก.โฟโต้เวิลด์ทัวร์ แอนด์ทรานสปอร์ต
เลขที่ใบอนุญาต 11/01064

122 ถนนพิบูลสงคราม ซอย 6 ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 แผนที่

จันทร์-ศุกร์ 9:00-18:00
ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
ติดตามเรา
ติดต่อ
chat ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
search ค้นหาโปรแกรมทัวร์
home หน้าหลัก
approval ขอใบเสนอราคา